ผู้สมัครงาน
พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล คือ กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติติงาน มาตรฐานจรรยาบรรณ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล (HR)
เนื่องจากผู้ที่ทำหน้าที่ HR เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชากรที่ทำงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นความสงบสุขในประเทศและการมีงานทำ การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดี มีส่วนช่วยในการลดภาระของสังคม ดูแลสุขภาพกายใจของคนทำงานให้มีคุณภาพ ส่งผลให้มีความสุขในการทำงาน
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานการทำงานและจรรยาบรรณของผู้ทำงานด้าน HR พร้อมส่งเสริม พัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานการการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามกฎหมายวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การทำหน้าที่ดังกล่าว รวมถึงองค์กรมีการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้เป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ใครได้ประโยชน์ ?
1 นักบริหารทรัพยากรบุคคล
1.1 ยกระดับเป็นวิชาชีพเฉพาะ
1.2 ภาคภูมิใจในวิชาชีพ HR
1.3 มีสภาวิชาชีพเป็นตัวแทนในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
2 พนักงาน / ลูกจ้าง
2.1 มีความเชื่อมั่นในระบบ HR
2.2 มั่นใจว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
2.3 มีผลต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและครอบครัว
3 นายจ้าง / เจ้าของกิจการ
3.1 มั่นใจได้ว่านักบริหารทรัพยากรบุคคลมีความรู้ ความสามารถอย่างมืออาชีพ
3.2 มีนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีความสุข ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพ และขับเคลื่อนเป้าหมายองค์การให้สำเร็จ
4 สังคมและประเทศ
4.1 ประชากรในวัยทำงานได้รับการดูแลให้มีความถึงพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และคุณภาพชีวิต ยกระดับศักยภาพแรงงานของประเทศ
4.2 นักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศไทย
พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล บังคับใช้เมื่อไร ?
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนระดมรายชื่อให้ครบ 10,000 ชื่อ (ขาดไม่ถึง 1,000 ชื่อ) เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ให้รัฐสภาประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
ขอบคุณข้อมูล : pmat.or.th
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
อัปเดตความรู้สำหรับคนหางาน คนทำงาน สามารถติดตามได้ที่ https://jobbkk.com/go/kr0ws
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved